วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

3 ห่วง 2 เงื่อนไข

ชื่อชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง หมู่บ้านนาฝาย
สถานที่ตั้ง
หมู่บ้านนาฝาย ต.หัวเรือ อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม
กิจกรรมที่ทำ
1.การสร้างความสามัคคีในชุมชน
2.มีการเลี้ยงปลา เพื่อการบริโภค
3.การพัฒนาระบบการประกอบอาชีพ
ลักษณะกิจกรรมที่ทำ
ได้มีการพัฒนาระบบเศรษฐกิจพอเพียงในระดับชุมชนอย่างเต็มรูปแบบ โดยเริ่มต้นจากการสร้างความสามัคคีในชุมชน ทำงานอย่างเชื่อมโยงกันเป็นขั้นตอน เนื่องจากมีผู้นำที่เข้มแข็ง กล้าตัดสินใจ กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้องให้กับชุมชน โดยเน้นการพัฒนาระบบการประกอบอาชีพ ที่สามารถลดช่องว่าง รูรั่วทางเศรษฐกิจของชุมชน โดยเฉพาะด้านอาหาร อันได้แก่ ข้าว ปลา ผัก และอาหารพื้นบ้านอื่นๆ จนสามารถพึ่งพาตนเองด้านการผลิตอาหาร จำนวนทั้งหมด 103 ครัวเรือน ที่แทบไม่ต้องซื้ออาหารจากภายนอกเลย


รูปภาพชุมชน


รูปภาพของชุมชนหมูบ้านนาฝาย


รูปการทำกิจกรรม



รูปชาวบ้านช่วยกันทำกิจกรรม

รูปภาพสินค้า/บริการ







รูป 3 ห่วง 2 เงื่อนไข

ใช้ปัจจัยการผลิตที่พึ่งตนเองทั้งหมด มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เป็นหลัก ไม่มีการใช้สารพิษ ยาปราบศัตรูพืช แต่ใช้สารขับไล่แมลงเป็นหลักในการปฏิบัติ ทำให้ไม่มีสารพิษในชุมชน อีกทั้งยังทำให้อาหารที่ผลิตขึ้นมีคุณภาพดีและปลอดภัย สมบูรณ์แบบ ตามหลักการผลิตอาหารอินทรีย์ ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์นั้น เกษตรกรเลี้ยงวัวควายกันทุกครัวเรือน โดยเฉลี่ย ครัวเรือนละ 3-4 ตัว มีการเลี้ยงปลา เพื่อการบริโภคและขาย ทั้งในบ่อซีเมนต์ บ่อในไร่นา บ่อสาธารณะของชุมชน โดยใช้อาหารสัตว์ที่ผลิตขึ้นจากวัสดุในชุมชน น้ำทิ้งจากการเลี้ยงปลาก็นำไปรดผักที่ปลูกในแปลงผักสวนครัว และปลูกในกระถางล้อรถยนต์ที่วางเรียงรายไว้ในหมู่บ้าน พืชผักเหล่านี้ จะมีการปลูกทยอยกันไปตลอดปีเพื่อการบริโภคของตนเอง และแลกเปลี่ยนกับครัวเรือนอื่นๆ ในการปลูกพืชผักสวนครัว รั้วกินได้ ทำให้มีอาหารธรรมชาติสมบูรณ์ สำหรับกิจกรรมที่เป็นงานของกลุ่มในชุมชน ก็มีการเลี้ยงหมูหลุมชีวภาพ ทำปุ๋ยอินทรีย์จำหน่าย กลุ่มสตรีทอผ้า และโรงสีชุมชน ซึ่งทำให้มีการแปรรูป และทำหัตถกรรม ไปพร้อมๆกันแหล่งเงินรายได้ที่สำคัญของชุมชน นอกจากการขายผลผลิต ก็ยังมีจากหัตถกรรมและการขายปศุสัตว์ ทำให้มีรายได้เป็นตัวเงิน ใช้จ่ายในกรณีจำเป็น เช่น ค่าใช้จ่ายในด้านการศึกษาและการเจ็บป่วย ซึ่งทำให้ครอบครัวในชุมชน ไม่มีใครมีหนี้สินที่เป็นเงินก้อนใหญ่ จนไม่สามารถจัดการได้ เงินกู้ที่ยังมีอยู่ในชุมชน ได้แก่ กองทุนหมู่บ้านและเงินกู้ ธกส. บางส่วน เพื่อการลงทุน แต่ก็เป็นวงเงินที่ไม่มากนัก และสามารถใช้คืนได้หมดในกรณีจำเป็น จึงถือได้ว่าชุมชนนี้มีระดับเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งด้านอาหาร และเงินใช้จ่ายที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน อันเกิดมาจากความเข็มแข็งของชุมชนเป็นหลัก มีความสามัคคี ลด ละ เลิก อบายมุข ไม่มีการดื่มสุราในงานพิธีกรรมต่างๆ มีการสอนเด็กให้รู้จักการประกอบอาชีพ เช่น ให้เด็กช่วยทำงานบ้าน ให้อาหารปลาในบ่อ หรือทำงานหัตถกรรมก่อนและหลังไปโรงเรียน จึงทำให้เด็กมีความรับผิดชอบและมีความรักในอาชีพเกษตรกรรม